ชื่อประเทศ สหภาพเมียนมาร์ (Union of Myanmar)
อาณาเขต 657,740 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 1.3 เท่าของไทย)
ประชากร จำนวนประชากรประมาณ 50.2 ล้านคน ( พ.ศ.2547)
ลักษณะภูมิประเทศ ประเทศพม่าตั้งอยู่ที่ละติจูดที่ 28 องศา 30 ลิปดา ถึง 10 องศา 20 ลิปดาเหนือ เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีลักษณะพิเศษนั้นคือมันเป็นเพียงแค่ประเทศหนึ่งเดียวในภูมิภาคเอเชียใต้นี้เท่านั้น ที่มีพรมแดนทางแผ่นดินติดต่อกับสองประเทศซึ่งเป็นแหล่งอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่ของโลกนั้นก็คือ จีนและอินเดียภูมิประเทศตั้งอยู่ตามแนวอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามันทำให้ มีชายฝั่งทะเลยาวถึง 2,000 ไมล์ และมีหาดที่สวยงามเก่าแก่บริสุทธิ์อยู่หลายแห่ง พม่ามีชายแดนด้านตะวันตกเฉียงเหนือติดกับบังคลาเทศและอินเดีย และทางตะวันออกเฉียงเหนือติดกับธิเบตและจีน ส่วนทางตะวันออกติดกับลาว และทางตอนใต้ติดกับไทย รูปพรรณสัณฐานเหมือนกับว่าวที่มีหางยาวล้อมรอบเกือกม้าขนาดใหญ่คือแนวเทือกเขามหึมา และภูเขาที่อุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้ มียอดเขาสูงอยู่มากมายตามแนวเทือกเขาของพม่าและมีหลายยอดที่สูงเกินกว่า 10,000 ฟุต ตามแนวชายแดนหิมาลัยทางเหนือของพม่าที่ติดกับธิเบตเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ “ฮากากาโบ ราซี” 19,314 ฟุต ต่ำลงมาจากแนวเขาเหล่านี้เป็นที่ราบกว้างใหญ่ภายในประเทศพม่า รวมทั้งเขตแห้งแล้งกินอาณาเขตกว้างตอนกลางของพม่า และยังมีที่ราบลุ่มบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิระวดีที่อุดมสมบูรณ์ทอดยาวลงไปทางตอนใต้เป็นนาข้าวกว้างใหญ่ราวกับไม่มีที่สิ้นสุด
แผนที่ อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดประเทศจีน
ทิศตะวันออก ติดกับจีน ลาว และไทย
ทิศตะวันตก ติดกับอ่าวเบงกอล อินเดีย และบังคลาเทศ
ทิศใต้ ติดกับทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอล
เมืองหลวง เนปิดอย์ (Naypyidaw))
ประชากรเมืองหลวง ประชากรของเมืองหลวงยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดเนื่องจากว่าเป็นตั้งให้เนปิดอย์ให้เป็นเมืองหลวงได้ไม่นาน เปรียบเสมือนเมืองนี้ส่วนมากจะเป็นที่บัญชาการของรัฐบาล มากกว่า เพราะโดยส่วนมากความเจริญจะอยู่ที่ ย่างกุ้งแต่ก็มีประชากรเริ่มเข้ามาอาศัยที่เมืองหลวงใหม่มากขึ้น
ภาษา ภาษาพม่าเป็นภาษาราชการ(นอกจากนี้พม่ามีภาษาหลักที่ใช้งานในประเทศถึงอีก 18 ภาษา)
ศาสนา พม่าบัญญัติให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติใน พ.ศ. 2517
เวลา เวลาที่ประเทศพม่าจะช้ากว่าประเทศไทย 30 นาที
กระแสไฟฟ้า/ปลั๊กไฟ ไฟฟ้าในพม่าเป็นไฟ 220 volt ใช้ปลั๊กไฟได้หลายแบบ ทั้งแบบ 2 ขาแบน 2 ขากลม และ 3 ขาแบน
การปกครอง เผด็จการทางทหาร
สกุลเงิน จั๊ต (Kyat) ประมาณ 1,170 จั๊ต ต่อดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 35 จั๊ต เท่ากับ 1 บาท (มีนาคม 2551)
รหัสโทรศัพท์ระหว่างประเทศ +95
สภาพภูมิอากาศ อยู่ในเขตมรสุมมี 3 ฤดู เช่นเดียวกับประเทศไทยแต่จะมีฝนตกชุกและมีความชุ่มชื้นสูงกว่าไทยมาก
-ฤดูฝน ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม
-ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์
- ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน
ฤดูที่น่าเดินทางไปท่องเที่ยว ฤดูหนาว อากาศเย็นสบายทางเหนือของประเทศจะมีอากาศหนาว เป็นช่วงเวลาที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว
ประเพณีพื้นเมือง สังคมพม่านับได้ว่าเป็นสังคมที่แทบหยุดกาลเวลา และหยุดความเปลี่ยนแปลงไว้ได้ในระดับหนึ่ง ทั้งนี้เพราะพม่าปิดประเทศมานานกว่า ๓ ทศวรรษ ในขณะที่โลกได้พัฒนาด้านเทคโนโลยีไปมาก ในช่วงเวลานั้นสังคมพม่าอยู่ได้ด้วยการพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่นเน้นความเป็นอยู่แบบพอมีพอกินและพึ่งพาตนเอง สิ่งจำเป็นจึงมีเพียงแค่ปัจจัยสี่ คือ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค อีกทั้งสิ่งยั่วเย้าในการบริโภคที่เกินความจำเป็นก็มีไม่มาก ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวพม่าในช่วงเวลาก่อนหน้านี้จึงมีความเรียบง่าย และไม่มีเรื่องที่จะต้องจับจ่ายกันมากนักนับแต่อดีตมา พม่ามีงานประเพณีของแต่ละเดือนในรอบปี เรียกว่า แซะนะล่ะหย่าตี่บะแว หรือประเพณีสิบสองเดือน ในยุคราชวงศ์ของพม่ามีการกำหนดให้งานนี้เป็นพระราชพิธี แม้ว่าในปัจจุบันพม่าจะยังคงสืบทอดงานประเพณีสิบสองเดือนไว้ แต่ก็มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมบ้าง ประเพณีสิบสองเดือนของพม่าเป็นดังนี้ (เดือน ๑ ของพม่า เท่ากับเดือน ๕ ของไทย และเดือน ๑๒ ไทย เท่ากับเดือน ๘ พม่า)
เดือนหนึ่ง เรียกว่า เดือนดะกู (มี.ค.-เม.ย.) เป็นเดือนเริ่มศักราชใหม่ และเป็นเดือนต้นฤดูร้อน ประเพณีสำคัญของเดือนนี้คืองานฉลองสงกรานต์ พม่าถือเป็นงานฉลองวันส่งท้ายปีเก่าและย่างสู่ปีใหม่ มีการเล่นสาดน้ำกันตลอด ๕ วัน ชาวพม่าถือว่าช่วงเวลานี้เป็นวันมงคล จึงนิยมเข้าวัดรักษาศีล ช่วยกวาดลานวัดและลานเจดีย์ สรงน้ำพระพุทธและเจดีย์ รดน้ำดำหัวพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ตลอดจนครูบาอาจารย์ และสระผมให้ผู้เฒ่าผู้แก่ด้วยน้ำส้มป่อย งดการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต บ้างสร้างกุศลด้วยการปล่อยวัว ควาย และปลา กวีพม่าชื่อ อูบุญญะ บันทึกไว้ว่า ในยามเที่ยงตรงของเดือนดะกู จะเห็นเงาตนเองใกล้ตัวเพียงแค่ ๓ ฝ่าเท้า หากเป็นเดือนอื่น จะเห็นได้ยาวสุดถึง ๖ ฝ่าเท้า ฉะนั้นเดือนดะกูจึงเป็นเดือนที่ตะวันยามเที่ยงอยู่ตรงศีรษะมากที่สุด เมื่อสิ้นวันสงกรานต์ ชาวพม่าจะนิยมจัดงานบวชเณรให้บุตรและจัดงานเจาะหูให้ธิดา ดังนั้นในช่วงหลังสงกรานต์ จะพบเห็นขบวนแห่ลูกแก้วและลูกหญิงไปตาม ท้องถนนและรอบลานองค์เจดีย์ ตามวัดต่างๆจึงมีสามเณรบวชใหม่อยู่กันเต็มแทบทุกวัด
เดือนสอง เรียกว่า เดือนกะโส่ง (เม.ย.-พ.ค.) พม่ามีสำนวนว่า "ดะกูน้ำลง กะโส่งน้ำแล้ง" เดือนกะโส่งจึงเป็นเดือนที่แห้งแล้ง ภาวะอากาศในเดือนนี้ออกจะร้อนอบอ้าวกว่าเดือนอื่นๆ ชาวพุทธพม่าจึงจัดงานรดน้ำต้นโพธิ์กันในวันเพ็ญของเดือนกะโส่ง และถืออีกว่าวันนี้ตรงกับวันที่พระพุทธเจ้าทรงประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง พม่าได้กำหนดเรียกวันดังกล่าวว่า วันพุทธะ ในวันนี้ชาวพุทธพม่าจะนิยมปฏิบัติบูชาตามวัดและเจดีย์ ด้วยการรักษาศีลและเจริญภาวนา วัดและเจดีย์จึงมีผู้คนไปทำบุญมากเป็นพิเศษ เดือนกะโส่งนับเป็นเดือนที่ฝนเริ่มตั้งเค้า ชาวนาจะเริ่มลงนา เพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูก
เดือนสาม เรียกว่า เดือนนะโหย่ง (พ.ค.-มิ.ย.) เดือนนี้เป็นเดือนเริ่มการเพาะปลูก ฝนฟ้าเริ่มส่อเค้าและโปรยปราย อากาศเริ่มคลายร้อน ต้นไม้ใบหญ้าเริ่มแตกยอด โรงเรียนต่างเริ่มเทอมใหม่หลังจากปิดภาคฤดูร้อน เดือนนะโหย่งจึงนับเป็นเดือนเริ่มชีวิตใหม่หลังจากผ่านร้อนผ่านหนาวมาหลายเดือน ในสมัยราชวงศ์เคยจัดพิธีแรกนาขวัญในเดือนนี้ พม่าเรียกพิธีนี้ว่า "งานมงคลไถนา" ส่วนในทางศาสนา เคยเป็นเดือนสอบท่องหนังสือ พุทธธรรมสำหรับพระเณร กล่าวว่ามีมาตั้งแต่สมัยของพระเจ้าตาหลุ่นมีงตะยา แห่งอังวะยุคหลัง ในอดีตจะสอบเฉพาะท่องหนังสือด้วยปากเปล่า แต่ปัจจุบันมีทั้งการสอบเขียนและสอบท่อง และได้ย้ายไปจัดในเดือนดะกูซึ่งเป็นเดือนแรกของปี
เดือนสี่ เรียกว่า เดือนหว่าโส่ (มิ.ย.-ก.ค.) ถือเป็นเดือนสำคัญทางพุทธศาสนา ด้วยเป็นเดือนเข้าพรรษา พม่ากำหนดให้วันเพ็ญเดือนหว่าโส่เป็นวันธรรมจักรเพื่อน้อมรำลึกวันปฏิสนธิ วันออกบวช และวันปฐมเทศนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในวันนี้ชาวพุทธพม่าจะเข้าวัดทำบุญและนมัสการพุทธเจดีย์กันอย่างเนืองแน่น และถัดจากวันธรรมจักร คือ วันแรม ๑ ค่ำของเดือนหว่าโส่ จะเป็นวันที่พระสงฆ์เริ่มจำพรรษาในเดือนนี้สาวๆพม่าในหมู่บ้านมักจะจับกลุ่มออกหาดอกไม้นานา เรียกรวมๆว่า ดอกเข้าพรรษาซึ่งขึ้นอยู่ตามชายป่าใกล้หมู่บ้าน เพื่อนำมาบูชาพุทธเจดีย์ นอกจากนี้ยังมีการถวายจีวรและเทียนที่วัด กิจกรรมสำคัญอีกอย่างหนึ่งในเดือนหว่าโส่ คือ งานบวชพระ ด้วยถือว่าวันเพ็ญเดือนหว่าโส่นั้น เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงบวชให้กับเบญจวัคคี ในอดีตนั้นพระมหากษัตริย์จะทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ การบวชพระและเณรสำหรับผู้สอบผ่านพุทธธรรมตามที่จัดสอบกันในเดือนนะโหย่งที่ผ่านมา ฤดูฝนจะเริ่มในเดือนหว่าโส่ และในเดือนหว่าโส่นี้ยังเป็นเดือนลงนาปลูกข้าว เล่ากันว่าชาวนาจะลงแขกปักดำข้าวในนา พร้อมกับขับเพลงกันก้องท้องทุ่งนา
เดือนห้า เรียกว่า เดือนหว่าข่อง (ก.ค.-ส.ค.) เป็นเดือนกลางพรรษา และเป็นเดือนที่มีงานบุญสลากภัต พม่าเรียกว่า สะเยดั่งบแว แต่เดิมใช้การจับติ้ว ภายหลังหันมาใช้กระดาษม้วนเป็นสลาก ปัจจุบันการจัดงานบุญสลากภัตมีกล่าวถึงกันน้อยลง แต่กลับมีงานที่เด่นดังระดับประเทศขึ้นมาแทน คืองานบูชาผีนัตที่หมู่บ้านต่องปะโยง ณ ชานเมืองมัณฑะเล เดือนนี้เป็นเดือนที่ฝนมักตกหนักกว่าเดือนอื่น
เดือนหก เรียกว่า เดือนต่อดะลีง (ส.ค.-ก.ย.) เป็นเดือนน้ำหลาก น้ำตามแม่น้ำลำคลองจะขึ้นเอ่อเต็มตลิ่ง หลายท้องถิ่นจะจัดงานแข่งเรือกันอย่างสนุกสนาน และในเดือนนี้เช่นกันจะพบเห็นแพซุงล่องตามลำน้ำเป็นทิวแถว โดยเฉพาะในแม่น้ำอิระวดี แพซุงจะล่องจากเหนือสู่ปลายทาง ณ ท่าน้ำเมืองย่างกุ้ง และเดือนนี้อีกเช่นกันที่ชาวประมงจะเริ่มลงอวนจับปลา ด้วยเป็นเดือนที่มีปลาออกจะชุกชุมเป็นพิเศษ
เดือนเจ็ด เรียกว่า เดือนดะดีงจุ๊ต (ก.ย.-ต.ค.) ในวันเพ็ญของเดือนนี้จะมีการทำปวารณาในหมู่สงฆ์ ชาวพุทธพม่าเรียกวันนี้เป็นวันอภิธรรม ด้วยเป็นวันที่พระพุทธองค์เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หลังจากที่ทรงเทศนาพระอภิธรรมตลอด ๓ เดือนในพรรษาที่ผ่านมา ชาวพุทธจะจัดงานจุดประทีปเพื่อสักการะบูชาพระพุทธเจ้า นอกจากนี้ยังมีงานลอยโคมไฟ บางที่จะทำโคมลอยขนาดใหญ่เป็นรูปโพตู่ด่อ หรือปะขาว รูปช้าง และรูปเสือ เป็นอาทิ นัยว่าทำเพื่อบูชาพระธาตุจุฬามณี ซึ่งอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ นอกจากนี้ในรัฐฉานจะมีงานบูชาพระเจ้าผ่องด่ออูซึ่งเป็นพุทธรูป ๕ องค์ ที่หมู่บ้านนันฮู) ณ กลางทะเลสาปอีงเล กล่าวกันว่าพระเจ้าผ่องด่ออูเป็นพระพุทธรูปที่มีมาแต่สมัยพระเจ้าอะลองสี่ตู่แห่งพุกาม ต่อจากวันอภิธรรมจะเป็นวันออกจากพรรษา ซึ่งตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ ของเดือนดะดีงจุ๊ต ในเดือนดะดีงจุ๊ตนี้ยังจัดประเพณีไหว้ขมาต่อบิดามารดาและครูบาอาจารย์ นอกจากนี้ชาวพม่ายังเริ่มจัดงานมงคลสมรสกันในเดือนนี้ โดยเริ่มจัดนับแต่วันแรม ๑ ค่ำ ของเดือนตะดีงจุ๊ต ด้วยเชื่อว่าช่วงในพรรษานั้น กามเทพหรือเทพสัตตะภาคะจำต้องพักผ่อน จึงต้องเลี่ยงจัดงานแต่งงานในช่วงเวลาดังกล่าว จนกว่าจะพ้นช่วงพรรษา
เดือนแปด เรียกว่า เดือนดะส่องโมง (ต.ค.-พ.ย.) เป็นเดือนเปลี่ยนฤดูจากหน้าฝนย่างเข้าหน้าหนาว กล่าวคือครึ่งแรกของเดือนจะเป็นท้ายฤดูฝน และครึ่งหลังของเดือนจะเป็นช่วงต้นหนาว ชาวนาจะเริ่มเก็บเกี่ยวข้าวกันในเดือนนี้ ในทางพุทธศาสนานั้น เดือนดะส่องโมงถือเป็นเดือนสำหรับงานทอดกฐิน ซึ่งที่จริงพม่ากำหนดช่วงเวลาจัดงานทอดกฐินเริ่มตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำกลางเดือนดะดีงจุ๊ต จนถึงวันเพ็ญกลางเดือนดะส่องโมง รวมเวลาหนึ่งเดือนเต็ม ในงานกฐินนี้จะมีการแห่ครัวทานที่พม่าเรียกว่า ปเดต่าบี่งหรือ ต้นกัลปพฤกษ์ และในวันสุดท้ายของฤดูกฐิน ซึ่งตรงกับวันเพ็ญของเดือนดะส่องโมงนั้น ชาวพุทธพม่าจะมีการจัดงานจุลกฐิน พม่าเรียกจุลกฐินนี้ว่า มโตตี่งกาง แปลตามศัพท์ว่า "จีวรไม่บูด" เทียบได้กับอาหารที่ไม่ทิ้งให้ค้างคืนจนเสีย มโตตี่งกางเป็นกฐินที่ต้องทำให้แล้วเสร็จภายในวันเดียว เริ่มแต่ปั่นฝ้ายให้เป็นด้าย จากด้ายทอให้เป็นผืนผ้า แล้วย้อมตัดเย็บเป็นจีวร ในเดือนนี้ยังมีพิธีตามประทีป และทอดผ้าบังสุกุล หรือปั้งดะกู่ อีกด้วย
เดือนเก้า เรียกว่า เดือนนะด่อ (พ.ย.-ธ.ค.) เป็นเดือนที่เก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว ชาวนา จะนวดข้าวและสงฟางสุมเป็นกอง เดิมเคยเป็นเพียงเดือนสำหรับบูชานัตหลวงหรือผีหลวงที่ เขาโปปาแห่งเมืองพุกาม แต่ปัจจุบันพม่ากำหนดให้มีงานเทิดเกียรติกวีและนักปราชญ์ของพม่าแทน โดยจัดในวันขึ้น ๑ ค่ำ งานนี้เริ่มจัดเป็นครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. ๑๙๔๔ ทุกๆปีจะจัดให้มีการอ่านบทประพันธ์และการเสวนาเกี่ยวกับวรรณกรรมกันตามสถานศึกษา และตามย่านชุมชนต่างๆ สำหรับในยุคราชวงศ์เคยถือเอาเดือนนี้จัดพระราชพิธีเพื่อมอบบรรดาศักดิ์ให้กับนักรบนักปกครอง ตลอดจนกวีที่มีผลงานดีเด่น ตัวอย่างบรรดาศักดิ์สำหรับนักรบมีเช่น เนมะโยเชยยะสูระ และมหาสีริเชยยะสูระ เป็นต้น ส่วนบรรดาศักดิ์สำหรับกวี อาทิ นัตฉิ่งหน่อง ปเทสะราชา ชเวต่องนันทะสู และเส่งตะจ่อตู่ เป็นต้น แต่เดิมนั้นเดือนนี้ยังเป็นเดือนสำหรับการคล้องช้างอีกด้วย
เดือนสิบ เรียกว่า เดือนปยาโต่ (ธ.ค.-ม.ค.) เดือนนี้เป็นเดือนที่หนาวจัด กวีหญิงของพม่าสมัยคองบอง ชื่อแหม่เควฺ เคยบันทึกไว้ว่า "เดือนปยาโต่ หนาวเหน็บจนกายสั่น ผิงไฟยังมิอุ่น ห่มผ้าหลายผืนยังมิคลาย" ในเดือนนี้ชาวไร่ที่กำลังเก็บเกี่ยวงาจะต้องคอยเฝ้าระวังฝนหลงฤดู หากฝนตกลงมาในเวลาที่เก็บงา งาก็จะเสียหาย ชาวนาพม่าจะเรียกฝนที่ตกยามนี้ว่า ฝนพังกองงา ความหนาวเย็นจะล่วงมาจนถึงเดือนดะโบ๊ะดแวซึ่งเป็นเดือนถัดมา ในอดีตเคยจัดงานอัศวยุทธโดยมีการประลองยุทธด้วยช้างศึก ม้าศึก และการใช้อาวุธต่างๆ อาทิ ดาบ หอก เป็นต้น รัฐบาลพม่าเคยรื้อฟื้นจัดงานนี้ในปีท่องเที่ยวพม่า แต่ก็จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น
เดือนสิบเอ็ด เรียกว่า เดือนดะโบ๊ะดแว (ม.ค.-ก.พ.) ในเดือนนี้ชาวพม่ารำลึกถึงพระพุทธเจ้าที่ย่อมต้องทรงผจญต่อภัยหนาวเช่นกัน และเชื่อว่าการผิงไฟจะช่วยให้ธาตุ ๔ คืนสู่สมดุลย์ ชาวพม่าจึงจัดงานบุญบูชาไฟแด่พระพุทธและพระเจดีย์ซึ่งเป็นองค์แทนพระพุทธเจ้า เรียกว่างานหลัวไฟพระเจ้า หรือ งานบุญไฟ) ปัจจุบันยังคงมีงานบุญเช่นนี้เฉพาะในบางท้องที่ของพม่าตอนบน ในเดือนนี้ยังมีงานกวนข้าวทิพย์ ซึ่งจัดในช่วงข้างขึ้นของเดือน กล่าวว่าพม่าจัดงานนี้มาแต่สมัยญองยาง และในเดือนนี้อีกเช่นกันที่ชาวบ้านจะเริ่มเกี่ยวข้าวและปีนเก็บน้ำตาลสดจากยอดตาล ซึ่งพบเห็นทั่วไปในเขตพม่าตอนกลางและตอนบน
เดือนสิบสอง เรียกว่า เดือนดะบอง (ก.พ.-มี.ค.) ในเดือนนี้อากาศจะเริ่มคลายหนาว และเริ่มเปลี่ยนไปสู่ฤดูร้อนในช่วงหลังของเดือน ประเพณีสำคัญคืองานก่อเจดีย์ทราย โดยจะก่อทรายเป็นรูปจำลองเขาพระสุเมรุ ทำยอดซ้อนเป็น ๕ ชั้น พม่าเคยจัดประเพณีนี้ในยุคราชวงศ์ ปัจจุบันไม่นิยมจัดแล้ว ตามตำนานกล่าวว่าเดือนนี้เป็นเดือนที่เริ่มมีการสร้างเจดีย์พระเกศธาตุหรือพระเจดีย์ชเวดากอง ซึ่งตกในปีมหาศักราช ๑๐๓ (พม่าถือว่าปีนี้เป็นปีที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้)ชาวพม่าจึงกำหนดเดือนดะบองเป็นเดือนสำหรับงานบูชาเจดีย์ชเวดากองด้วยเช่นกัน เดือนดะบองนี้ถือเป็นเดือนสุดท้ายของปีตามศักราชพม่า
ในการกำหนดวันประเพณีเป็นวันหยุดราชการนั้น ทางรัฐบาลกำหนดไว้เพียงบางวัน ได้แก่ วันสงกรานต์ ในเดือนดะกู จัดราววันที่ ๑๓ - ๑๗ เมษายนของทุกปี, วันรดน้ำต้นโพธิ์ หรือ วันพุทธะ ในวันเพ็ญของเดือนกะโส่ง ตรงกับวันวิสาขบูชาของไทย, วันธรรมจักร ในวันเพ็ญของเดือนหว่าโส่ ตรงกับวันอาสาฬหบูชาของไทย, วันอภิธรรม ในวันเพ็ญของเดือนดะดีงจุ๊ต ตรงกับวันออกพรรษาของไทย และวันตามประทีป ในวันเพ็ญของเดือนดะส่องโมง ตรงกับวันลอยกระทงของไทย
สิ่งที่น่าสังเกตอย่างหนึ่งคือ ในอดีตนั้นงานประเพณีสิบสองเดือนของพม่าจะรวมเอาการบูชานัตหรือผีหลวงไว้ด้วย โดยจัดกันในเดือนเก้า(เดือนนะด่อ) ในระยะหลังได้เปลี่ยนเป็นงานเทิดเกียรติกวี อย่างไรก็ตามชาวบ้านก็ยังคงรักษาพิธีบูชาผีนัตไว้ และยังจัดงานใหญ่กันในเดือนหว่าข่อง(เดือนห้า)
อาหารพื้นเมือง อาหารเช้าที่พม่าเรียกว่า โมมิงกะ มีลักษณะคล้ายขนมจีนของบ้านเรา นอกจากนี้ มีอาหารพื้นเมืองขึ้นชื่อ เช่น บะระฉ่องซึ่งโดดเด่นด้วยรสชาติที่เผ็ดจัด ขนมพื้นเมืองต่างๆ เช่น มะขามอัดเป็นแผ่นบางๆ มะนาวดองแบบแช่อิ่ม เป็นต้น โดยนักท่องเที่ยวสามารถหาซื้ออาหารเหล่านี้ได้ตามตลาด ร้านอาหารทั่วไปหรือ ภัตตาคารภายในที่พักในพม่าของท่าน
การแต่งกาย ที่เห็นได้ชัดอีกสิ่งหนึ่งก็คือการแต่งกาย ในอดีตแม้พม่าจะเคยเป็นอาณานิคมของตะวันตกมากว่าศตวรรษก็ตาม แต่ชาวพม่าก็ยังคงวิถีชีวิตเดิมไว้ได้มาก ผู้ชายยังนิยมนุ่งโสร่ง ผู้หญิงนุ่งผ้าซิ่น ทั้งยังชอบสวมรองเท้าแตะ และทาแป้งตะนาคา
เมืองสำคัญและสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ
เปียงมะนา ( Pyanmana) เมืองหลวง (เนปิดอย์)
ที่ตั้งของเมืองเปียงมะนาอยู่ห่างจากย่างกุ้งไปทางเหนือราว 244 ไมล์ และเป็นจุดตัดของถนนสายหลัก 2 เส้น ซึ่งเชื่อมพม่าตอนเหนือกับตอนใต้เข้าด้วยกัน รวมถึงเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ที่ใช้กันมาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 อีกทั้งยังเชื่อมกับเส้นทางรถไฟที่ติดต่อไปยังตอนใต้ของจีน
อย่างไรก็ดี ศูนย์กลางที่รัฐบาลพม่าใช้ก่อตั้งเมืองหลวงใหม่จริงๆ อยู่ห่างจากเปียงมะนาไปทางตะวันตกราว 7 ไมล์ เป็นจุดที่เรียกว่า “ไจ้เปี่ย” (Kyep Pyay) ซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากนายพลอองซาน เคยใช้เป็นชัยภูมิสู้รบจนได้เอกราชจากอังกฤษ ทั้งยังเป็นพื้นที่ที่พรรคคอมมิวนิสต์เคยใช้ปักหลักต่อสู้กับรัฐบาลพม่าในอดีตตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2548 รัฐบาลพม่าได้ย้ายเมืองหลวงไปที่
เปียนมานาตั้งอยู่ใน "เขตพรมแดน" ของบรรดารัฐของชนชาติส่วนน้อยต่างๆ ตามแนวชายแดน ซึ่งนับว่าเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญของประเทศทางการพม่าประกาศอย่างชัดเจนครั้งแรกในวันจันทร์ (7 พ.ย.) เกี่ยวกับการย้ายที่ทำการรัฐบาลออกจากกรุงย่างกุ้ง ไปสู่ "เมืองหลวงใหม่" ที่เมืองเปียนมานา (Pyanmana) ห่างขึ้นไปทางเหนือกว่า 300 ก.ม. ถัดจากเมืองตองอู ค่อนทางเกือบจะถึงเมืองมัณฑะเลย์ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของประเทศ
พระมหาเจดีย์ชเวดากอง เป็นมหาเจดีย์คู่บ้านคู่เมืองของประเทศพม่าอายุเก่าแก่กว่าสองพันห้าร้อยปี เพื่อเสริมบารมีในสถานที่ที่เปรียบเสมือนได้กับจิตวิญญาณของชาวย่างกุ้ง และชาวพม่าสถานที่แห่งนี้มี ลานอธิฐาน จุดที่บุเรงนองมาขอพรก่อนออกรบ รอบพระเจดีย์มีประดิษฐกรรมที่สวยงามอย่างน่าอัศจรรย์ พระเจดีย์นี้ได้รับการบูรณะและต่อเติมโดยกษัตริย์หลายรัชกาลองค์เจดีย์ห่อหุ้มด้วยแผ่นทองคำทั้งหมดน้ำหนักยี่สิบสามตันภายในประดิษฐานเส้นพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้าจำนวนแปดเส้นและเครื่องอัฐะบริขารของพระพุทธเจ้าองค์ก่อนทั้งสามพระองค์ บนยอดประดับด้วยเพชรพลอยและอัญมณีต่างๆ จำนวนมาก และยังมีเพชรขนาดใหญ่ประดับอยู่บนยอด บริเวณเจดีย์จะได้ชมความงามของวิหาร สี่ทิศ ซึ่งทำเป็นศาลาโถงครอบด้วยหลังคาทรงปราสาท ซ้อนเป็นชั้นๆ งานศิลปะและสถาปัตยกรรมทุกชิ้นที่รวมกันขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของพุทธเจดีย์ล้วนมีตำนานและภูมิหลังความเป็นมาทั้งสิ้นชมระฆังใบใหญ่ที่อังกฤษพยายามจะเอาไปแต่เกิดพลัดตกแม่น้ำย่างกุ้งเสียก่อนอังกฤษกู้เท่าไหร่ก็ไม่ขึ้นภายหลังชาวพม่า ช่วยกันกู้ขึ้นมาแขวนไว้ที่เดิมได้ จึงถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความสามัคคีซึ่งชาวพม่าถือว่าเป็นระฆังศักดิ์สิทธิ์ ให้ตีระฆัง 3 ครั้งแล้วอธิษฐานขออะไรก็จะได้ดั่งต้องการ เป็นเจดีย์ที่มีความสวยงดงามและยิ่งใหญ่สมเป็นมหาเจดีย์ที่งดงามมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งจะมีทั้งผู้คนชาวพม่าและชาวต่างชาติมากมายพากันเดินทางมาเที่ยวชมและนมัสการทั้งกลางวันและกลางคืนอย่างไม่ขาดสาย โดยค่าเข้าชมของชาวต่างชาตินั้น ราคาถึง 20 เหรียญสหรัฐ
พระเจดีย์ชเวมอดอร์ (Shwe Mordore) หรือพระธาตุมุเตา ซึ่งเป็นเจดีย์ที่สูงที่สุดในหงสาวดี ตั้งอยู่ใจกลางเมืองหงสาวดี เป็นสัญลักษณ์ยืนยันความ เจริญรุ่งเรืองในอดีต อีกทั้งยังเป็นเจดีย์คู่บ้านคู่เมืองของกรุงหงสาวดีมาช้านาน เป็นเจดีย์เก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองและเป็น 1 ใน 5 มหาบูชาสถาน สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของพม่า ภายในบรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า เป็นเจดีย์ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ของไทย เคยมาสักการะ เจดีย์องค์นี้เป็นศิลปะที่ผสมผสานระหว่างศิลปะพม่าและศิลปะของมอญได้อย่างกลมกลืน พระเจดีย์สูง 377 ฟุต สูงกว่าพระเจดีย์ชเวดากอง 51 ฟุต มีจุดอธิษฐานที่ศักดิ์สิทธิ์อยู่ตรงบริเวณยอดฉัตร ซึ่งยอดอของเจดีย์ได้หักและตกลงมาจากการเกิดแผ่นดินไหว ในปี พ.ศ. 2473 ปัจจุบันส่วนของยอดที่หักลงมานั้นก็ยังอยู่ในสภาพเดิม อยู่บริเวณฐานของพระธาตุ ซึ่งน่าอัศจรรย์ใจที่ส่วนของยอดเจดีย์ที่หักลงมาจากที่สูงขนาดนั้นไม่แตก จึงเป็นที่ร่ำลือถึงความศักดิ์สิทธ์โดยแท้ ซึ่งชาวมอญและชาวพม่าเชื่อกันว่าเป็นจุดที่ศักดิ์สิทธิ์มาก และเป็นสัญลักษณ์ของความมั่นคงไม่เสื่อมคลาย นอกจากนั้นแล้ว สถานที่แห่งนี้ยังเป็นสถานที่ที่พระเจ้าหงสาลิ้นดำ ใช้เป็นที่เจาะพระกรรณ (หู) ตามพระราชประเพณีโบราณเพื่อทดสอบความกล้าหาญก่อนขึ้นครองราชย์
พระธาตุไจ้ทีโย ถ้าแปลเป็นภาษาไทย จะแปลว่า “ก้อนหินทอง” หรือที่ส่วนใหญ่เราจะเรียกว่า
“พระธาตุอินทร์แขวน” ระยะทางจะห่างจากเมืองย่างกุ้งประมาณ 195 กิโลเมตร อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,200 เมตร ลักษณะเป็นเจดีย์องค์เล็ก ๆ สูงเพียง 5.5 เมตร ตั้งอยู่บนก้อนหิน บนยอดเขาอย่างหมิ่นเหม่ มีพระเกศาธาตุศักดิ์สิทธิ์ที่บรรจุอยู่ภายในพระเจดีย์ ตามคติการบูชาพระธาตุประจำปีเกิดของชาวล้านนา พระธาตุอินทร์แขวนนี้ให้ถือเป็นพระธาตุปีเกิดของปีจอ แทนพระเกตุแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ พระธาตุอินทร์แขวนนั้นตั้งอยู่เชิงหน้าผา ซึ่งหากมองจากทางด้านล่างก็จะดูคล้ายกับลอยอยู่เหนือหน้าผา ราวกับพระอินทร์นำไปแขวนไว้กลางอากาศ การเดินทางขึ้นไปยังบนยอดเขานั้นจะต้องนั่งรถกระบะ 6 ล้อขึ้นไป ซึ่งเป็นกฎข้อบังคัญของประเทศพม่าเลย ห้ามรถอื่น ๆ ขึ้นเด็ดขาด ใครจะไปจะมาก็ต้องลงรถที่บริเวณ คิมปูแคมป์ และก็ต้องเปลี่ยนเป็นรถ 6 ล้อ แม้แต่ผู้นำประเทศก็ต้องปฏิบัติตาม อาจจะเป็นเพราะเรื่องของความปลอดภัย เพราะทางที่ขึ้นนั้นเป็นถนนเลนเดียว สวนไม่ได้ เพราะฉะนั้นเวลาลงหรือขึ้นนั้นก็จะต้องให้รถทางใดทางหนึ่งนั้นลงมาก่อน ถึงจะขึ้นได้ ก็จะสลับกันไป เมื่อถึงบริเวณบนเขาแล้ว แต่ก็ยังไม่ถึงดี เพราะจะต้องเดินเท้าขึ้นเขาอีกประมาณ 4 กิโลเมตร แต่ก็จะมีบริการ นั่งเสลี่ยง ซึ่งขอแนะนำว่าควรนั่งเสลี่ยงดีกว่า ถึงแม้ว่าจะดูแล้วราคาแพงไปซักนิดก็ตาม คือคนละ 800 บาท เพื่อที่จะออมแรงไว้เดินเท้าเปล่าไปสักการะพระธาตุ เมื่อถึงที่หมายบนยอดเขา ดูแล้วหลายต่อ แต่รับรองได้ว่า หากขึ้นไปเห็นแล้วจะหายเหนื่อยแน่นอน กับความพิศวง และความศรัทธา และชาวพม่าจะมีความเชื่อว่าถ้าผู้ใดได้มานมัสการพระธาตุอินทร์แขวนนี้ครบ 3 ครั้ง ผู้นั้นจะมีแต่ความสุขความเจริญ พร้อมทั้งขอสิ่งใดก็จะได้สมดั่งปรารถนาทุกประการ สามารถนั่งสมาธิหรือสวดมนต์ได้ตลอดคืน สำหรับท่านที่ต้องการนมัสการกลางแจ้งเป็นเวลานาน
เมืองหงสาวดี หรือชาวพม่าจะเรียกว่า เมืองพะโค หรือ Bago ในภาษาอังกฤษ เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน ทั้งทางด้านพระพุทธศาสนา และประวัติศาสตร์ชาติพม่า เป็นเมืองหลวงเก่าแก่ของอาณาจักรมอญในอดีต มีเจดีย์และวัดเก่ากว่านับพันปี
พระราชวังบุเรงนอง หรือที่เรารู้จักกันในชื่อดีในนามผู้ชนะสิบทิศ เคยเป็นที่ประทับของพระนางสุพรรณกัลยา และสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ครั้งต้องตกเป็นเชลยศึก เมื่อต้องเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่า แต่ปัจจุบัน พระราชวังแห่งนี้ได้เหลือเพียงแต่ร่องรอยทางประวัติศาสตร์ และถูกสร้างจำลองพระราชวังและตำหนักต่าง ๆ ขึ้นมาใหม่โดยอ้างอิงจากพงศาวดาร และความเข้าใจตามข้อมูลของกรมศิลปกรของรัฐบาลพม่า ภายในมีห้องบรรทมและพระที่นั่งผึ้ง (จำลอง) และพระที่นั่งสิงค์ (จำลอง)
พระพุทธไสยาสน์ชเวตาเลียว พระพุทธรูปนอนที่ที่มีพุทธลักษณะที่สวยงามในแบบของมอญ ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวพม่า ถือได้ว่าเป็นพระนอนที่งดงามที่สุดของพม่า อีกทั้งตลอดสองข้างทางของบริเวณวัด ท่านสามารถที่จะเลือกหาเครื่องไม้แกะสลักที่มีให้เลือกมากมาย ราคาไม่แพง หรือจะเป็นไม้หอมที่เป็นไม้หายากมีอยู่เพียงไม่กี่ประเทศที่มี เจดีย์ไจ๊ปุ๋น สร้างในปี 1476 ก่อเป็นแกนทึบสี่เหลี่ยมอยู่ตรงกลาง รอบ ๆ มีพระพุทธรูปนั่งสูง 30 เมตร ประดิษฐานอยู่ทั้งสี่ทิศ แทนองค์พระพุทธเจ้าทั้งสี่พระองค์ในภัทรกัป สร้างขึ้นโดยสตรีสี่พี่น้องที่มีพุทธศรัทธาสูงส่งและต่างให้สัตย์สาบานว่าจะรักษาพรหมจรรย์ไว้ชั่วชีวิต ไม่ข้องแวะกับบุรุษเพศ ต่อมา 1 ใน 4 สาวหนีไปแต่งงาน ร่ำลือกันว่าทำให้พระพุทธรูปองค์นั้นเกิดรอยร้าวขึ้นทันที ซึ่งต่อมามีการบูรณะเจดีย์เมื่อปี พ.ศ. 2019
เมืองสิเรียม ห่างจากเมืองย่างกุ้งประมาณ 45 กิโลเมตร ชมความแปลกตาของเมืองสิเรียมที่เคยเป็นเมืองท่าของโปรตุเกสมาก่อน ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำย่างกุ้งที่เชื่อมต่อกับแม่น้ำอิระวดี
พระเจดีย์เยเลพญา เจดีย์เกาะกลางน้ำอายุนับพันปี ต้องนั่งเรือพายข้ามไป ประมาณ 10 นาที เป็นที่เคารพนับถืออย่างมากของชาวเมืองสิเรียม
พระพุทธไสยาสน์เจาทัตยี พระพุทธรูปปางไสยาสน์ มีความยาวถึง 55 เมตร สูง 16 เมตร ซึ่งพระบาทมีภาพมงคล 108 ประการ เป็นรอยพระบาทที่ซ้อนทับกัน และตามคติทางพุทธศาสนาเถรวาทแล้ว เชื่อว่าอดีตพุทธเจ้าทั้งสี่พระองค์จะเสด็จมาประทับรอยพระบาทไว้
เจดีย์ซูเลย์ เป็นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม ตั้งอยู่ใจกลางเมืองย่างกุ้ง สร้างในสมัยที่อังกฤษยังปกครองพม่าอยู่ ถ้าเปรียบแล้ว เจดีย์ซูเลนี้ ก็เหมือนกับหัวใจของเมืองย่างกุ้ง เพราะชาวอังกฤษได้วางผังเมืองให้เจดีย์นี้ เป็นศูนย์กลาง ฝั่งตรงข้ามของเจดีย์ซูเลมีสวนสาธารณะมหาบัณฑุละ ภายในสวนมีอนุสาวรีย์อิสระภาพ รูปเสาแหลมสูง 40 เมตร ล้อมรอบด้วยเสาหินสูง 9 เมตร 5 ต้น แทนรัฐที่ปกครองตนเองกึ่งอิสระ 5 รัฐ คือ ฉาน กะฉิ่น กะยิน(กะเหรี่ยง) กะยา และชิน บริเวณใกล้เคียงก็จะมีสถานที่ราชการที่สำคัญในอดีต ก่อนที่พม่าจะย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่เมืองอื่น
วัดพระเขี้ยวแก้ว ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานพระเขี้ยวแก้วจำลอง ที่ได้มาจากอาณาจักรน่านเจ้า ที่เคยนำมาประดิษฐานที่พุทธมณฑล
วัดกุโสดอ (Kuthodaw)ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นสถานที่ทำสังคยานาพระไตรปิฎกครั้งที่ 5 พุทธสถานสำคัญที่ถูกบันทึกไว้ในกินเนสบุ๊คว่ามีแผ่นจารึกพระไตรปิฏก ทั้ง 84,000 พระธรรมขันธ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
สะพานอูเป็ง สะพานไม้สักที่มีความยาวที่สุดในโลกแห่งมัณฑะเลย์
เมืองพุกาม ดินแดนแห่งเจดีย์หมื่นองค์อย่างเมืองพุกามที่มีความสำคัญด้านพุทธสถานอย่างหาที่เปรียบมิได้นั้น นับเป็นดินแดนอารยธรรมที่เปี่ยมไปด้วยพระเจดีย์และวัดวาอารมอันศักดิ์สิทธิ์และสวยงาม ทั้ง พระเจดีย์ชเวซิกอง วัดถ้ำจันสิทธา วัดทิโลมินโล วิหารนันปยะ เจดีย์อานันทะ เจดีย์มิงกาลา เจดีย์กูบยางคยี และอีกหลากหลายความงามแห่งศิลปกรรมที่มิอาจพรรณนาได้หมด เพราะแต่ละพุทธสถานก็มีความงดงามที่ยิ่งใหญ่จากฐานรากวัฒนธรรม ประเพณีและวิถีความเป็นมาที่แตกต่างกัน แต่ไม่ว่าพุทธสถาน ณ แห่งหนตำบลใดในดินแดนพม่าแห่งนี้ เชื่อได้เลยว่า ความขลังและความศักดิ์สิทธิ์จะสามารถประทับใจผู้มาเยือนให้จดจำไว้อย่างมิรู้ลืม
ตลาดสก็อต (Scot Market) หรือ ตลาดโบฉกอองซาน (Bogyoke Aung San) เป็นตลาดเก่าแก่ของชาวพม่าสร้างขึ้นโดยชาวสก๊อตในสมัยที่ยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษ เป็นลักษณะอาคารเรียงต่อกันหลายหลัง สินค้าที่จำหน่ายในตลาดแห่งนี้มีหลากหลายชนิด สามารถซื้อหาของที่ระลึกพื้นเมืองได้มากมายในราคาถูก เช่น เครื่องเงิน ที่มีศิลปะผสมระหว่างมอญกับพม่า ภาพวาด งานแกะสลักจากไม้ อัญมณี หยก ผ้าทอ เสื้อผ้าสำเร็จรูป แป้งทานาคา (Thanakha)ผ้าปักพื้นเมืองและเครื่องเงิน เป็นต้น (หากซื้อสิ้นค้าหรืออัญมณีที่มีราคาสูงควรขอใบเสร็จรับเงินด้วย ทุกครั้ง เนื่องจากจะต้องแสดงให้ศุลกากรตรวจ) สำหรับชาวไทยแล้วอาจจะต้องใช้เวลาเดินที่ตลาดนี้ประมาณ 2-3 ชั่วโมง
พระเจดีย์โบตะตอง ซึ่งเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นเพื่อรับพระเกศาธาตุก่อนที่นำไปบรรจุในพระเจดีย์ชเวดากอง เมื่อพระเกศาธาตุได้ถูกอัญเชิญขึ้นจากเรือ ได้นำมาประดิษฐานไว้ที่พระเจดีย์โบตะตองแห่งนี้ก่อน พระเจดีย์แห่งนี้ได้ถูก ทำลายในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 และได้รับการปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่ โดยมีความแตกต่างกับ พระเจดีย์ทั่วไปคือ ออกแบบให้ใต้ฐานพระเจดีย์มีโครงสร้างโปร่งให้คนเดินเข้าไปภายในได้ โดยอัญเชิญพระบรมธาตุไว้ในผอบทองคำให้ผู้คนได้เข้ามากราบไหว้มองเห็นได้ชัดเจน ส่วนผนังใต้ฐานเจดีย์ได้นำทองคำและของมีค่าต่างๆ ที่มีพุทธศาสนิกชนชาวพม่านำมาถวายแก่องค์พระเจดีย์ มาจัดแสดงไว้
วัดพระหินขาว หรือที่มีชื่อเรียกอย่างทางการว่า “Lawka Chantha Abaya Labamuni Buddha Image” พระหินขาวนี้สร้างจากหินขาวที่มีลักษณะมันวาว สีขาวสะอาดและไม่มีตำหนิ สูง 37 ฟุต กว้าง 24 ฟุต หนัก 600 ตัน เป็นพระพุทธรูปประทับนั่ง พระหัตถ์ขวาบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่อัญเชิญมาจากสิงคโปร์ และศรีลังกายกขึ้นหันฝ่าพระหัตถ์ออกจากองค์ หมายถึงการไล่ศัตรูและประทานความเจริญรุ่งเรือง นอกจากนี้ยังมีการนำหินที่เหลือมาสลักเป็นพระพุทธบาทซ้าย-ขวา ประดิษฐานอยู่ บริเวณด้านหลังพระพุทธรูปด้วย
พระเจดีย์ชเวซิกอง ( Shwezigon Pagoda ) อันศักดิ์สิทธ เจดีย์องค์ใหญ่ ที่มีสีทองอร่ามตา เริ่มสร้างขึ้นในปี พ.ศ 1627 โดยพระเจ้าอโนรธามหราช แต่สร้างไม่เสร็จ จนกระทั่งมาสร้างเสร็จในรัชสมัยของพระเจ้าจันสิธาเมื่อปี พ.ศ 1656 เชื่อกันว่าภายในบรรจุ พระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งรูปแบบถาปัตยกรรมของพระ เจดีย์ชเวซิกองนี้ ต่อมาเป็นแบบอย่างของการสร้างเจดีย์ของประเทศพม่า ในยุคต่อ ๆ มา
วัดถ้ำจันสิทธา (Kyanzittha Umin ) ซึ่งมีลักษณะอาคารเตี้ยก่อด้วยอิฐอยู่ใต้ดิน ครึ่งหนึ่งบนพื้นดินครึ่งหนึ่ง พบกับภาพเขียนโบราณซึ่งวาดขึ้นในระหว่างพุทธ ศตวรรษที่ 16-19 ที่ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ วัดแห่งนี้สร้างขึ้นในสมัยของพระเจ้าจันสิทธา
วัดทิโลมินโล (Htilominlo Pagoda ) ที่สันนิษฐานว่า น่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า “ไตร โลกมงคล “ สร้างโดยพระเจ้าติโลมิโล เมื่อปี พ.ศ 1761 ซึ่งได้รับการยกย่องว่ามีความ สวยงามมากทั้งภายในและภายนอก โดยเฉพาะปูนปั้นบริเวณฐานด้านนอก วิหารนันปยะ ( Nanpaya ) ตามตำนานกล่าวว่าเป็นที่ประทับของพระเจ้ามนูหะ ซึ่งพระเจ้า อโนรถา ทรงจับเป็นเชลยมาจากเมือง สะเทิน สร้างด้วยอิฐและสอดินแต่พื้นปูด้วยหิน มี แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสและมีมุขยื่นยาวออกไปทางทิศตะวันออก ใกล้กับแท่นบูชา ภายในอาคารมีเสาหิน 4 เสา และบนแต่ละด้านของเสาก็สลักลายดอกไม้รูปสามเหลี่ยมและ เทวรูปพระพรหมทรงถือดอกบัวอยู่ในแต่ละหัตถ์ งานตกแต่งภายนอกอาคารที่น่าสนใจยิ่ง คือ บานหน้าต่างเป็นช่องปรุทำจากศิลา อันเป็นแบบอย่างและกรรมวิธีของงานงางพุกามใน ส่วนที่เชื่อว่ารับวัฒนธรรมมอญ ทั้งนี้รวมถึงลวดลายที่ประดับกรอบของหน้าต่างและส่วน อื่นของผนังด้วยพระเจดีย์ธรรมยาจี สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้านรถุ (พ.ศ. 1710 – 1713) เจดีย์อานันทะ (ชื่อดังเดิมคือ อนันตปัญญา) เป็นวิหารทรงสี่เหลี่ยมจตุรัสมีมุขเด็จ ออกไปเท่ากันทั้ง 4 ด้านแต่ละด้านมีซุ้มคูหาประดิษฐานพระพุทธรูปทรงสูง 10 เมตร ใหญ่โตสูงสง่าและเป็นศิลปะพระพุทธรูปต้นแบบสมัยพุกามดั้งเดิม เจดีย์สัพพัญญู (THATBYINYU) เป็นวิหารสูงที่สุดในพุกามทรงสี่เหลี่ยมจตุรัส มีความสูง 201 ฟุต เป็นวัดประจำรัชกาลพระเจ้าอลองสินธสร้างเลียนแบบวัดในประเทศอินเดีย สูงห้า ชั้นโดยชั้นที่สี่เป็นที่ปดิษฐานพระไตรปิฎกฉบับต้นแบบและชั้นที่ห้าเป็นองค์พระสถูปอัน ศักดิ์สิทธิ์ พระเจดีย์กูบยางคยี (GUPYAUKKYI PAGODA) ที่สร้างโดยพระโอรสของพระเจ้าจันสิธะในราวปี พ.ศ. 1656 พระเจดีย์แห่งนี้สร้างแบบศิลปะของพยูหรือพุกามตอนต้น ภายใน พระเจดีย์ท่านจะได้ชมจิตรกรรมฝาผนังที่งดงามที่สุดของเมืองพุกามที่ยังคง หลงเหลืออยู่
พระเจดีย์มิงกาลา ชมทัศนียภาพของอาณาจักรพุกามจากมุมสูง จากสถานที่ แห่งนี้ ท่านจะได้พบกับพระเจดีย์น้อยใหญ่จำนวนมากมายที่เป็นที่มาของชื่อ “ดินแดนแห่งพระจดีย์สี่พันองค์” พระอาทิตย์ตกริมฝังแม่น้ำอิรวดีที่พระเจดีย์บุพะยา (BUPAYA PAGODA) ซึ่งจะทำให้ท่านประทับใจมิรู้ลืม ช้อปปิ้งสินค้าพื้นเมืองจำพวกเครื่องเขิน (LACQUERWARE ) ในบริเวณหมู่บ้าน พุกามใหม่ (New Bagan) ซึ่งดำเนินกิจการติดต่อนานกว่า 1,000 ปี
มิงกุน มิงกุนตั้งอยู่ริมฝั่งน้ำเอยาวดี ทางตอนบนสุดของทิวเขา ที่โอบล้อมเมืองสกายน์เอาไว้ ที่นี่มีระฆังใบใหญ่ที่สุดในโลก ที่ยังคงสภาพดีเยื่ยม กับพระเจดีย์ขนาดมหึมา ที่ยังสร้างไม่เสร็จอีกองค์หนึ่ง ตั้องยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ของเขามัณฑะเลย์ ห่างไปกว่า 10 กิโลเมตรมิงกุน ไม่ใช่ราชธานี ที่ประทับของกษัตริย์อย่างอินน์วะ กับอมรปุระ แต่ก็มีความสำคัญในตัวเอง และมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจมาก หมู่บ้านแห่งนี้ เข้ามาได้โดยทางน้ำเท่านั้น โดยจะมีเรือ อกจากมัณฑะเลย์ทุกวัน และใช้เวลาเดินทาง ราวหนึ่งชั่วโมงเท่านั้น ถ้าคุณไม่ได้โดยสารเรือกลไฟเยาวดี จากมัณฑะเลย์มายังปะกั่น อย่างน้อย ก็น่าจะลองนั่งเรือ สำหรับการเดินทาง ในช่วงนี้ดู จะได้ชมวิถีชีวิต ของชาวบ้านบนลำน้ำสายนี้ จากมยิตจีนากับปะเต่งลงมายังย่างกุ้ง เมืองมิงกุน “เจดีย์ยักษ์มิงกุน”เจดีย์องค์นี้ถ้าสร้างสำเร็จก็จะมีความสูงถึงราว 165 เมตร และจะเป็นเจดีย์ที่ใหญ่ที่ สุดในประเทศพม่า อย่างไรก็ดีเมื่อพระเจ้าปะดุงสิ้นพระชนม์ใน พ.ศ. 2362 เจดีย์องค์นี้ก็ถูกทอดทิ้งไม่มีการสร้าง คงเหลือไว้เป็นกองอิฐที่ใหญ่ที่สุดในโลกจากนั้นชม “ระฆังยักษ์มิงกุน” ซึ่งพระเจ้าปะดุงทรงสร้างไว้ เป็นระฆังสัมฤทธิ์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศพม่า น้ำหนักประมาณ 90 ตัน ระฆังนี้สูง 4 เมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางที่ปากกว้างราว 5 เมตร นับว่าเป็นระฆังที่แขวนอยู่ซึ่งใหญ่ที่สุดในโลก
พระเจดีย์สินพยุเม ซึ่งพระเจ้าพะคยีดอทรางสร้างใน พ.ศ. 2359 ก่อนที่จะเสด็จขึ้นเสวยราชย์ เจดีย์องค์นี้เปรียบเสมือนพระเจดีย์จุฬามณีซึ่งตั้งอยู่เหนือเขาพระสุเมรุอันเป็นศูนย์กลางของจักรวาลตามความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องไตรภูมิในพุทธศาสนา พระเจ้าพะคยีดอทรงสร้างอุทิศแด่พระชายาคือ เจ้าหญิงสินพยุเมที่สิ้นพระชนม์ไปแล้ว แม้จะถูกทำลายโดยแผ่นดินไหว แต่ก็ได้รับการซ่อมแซมและปัจจุบันยังคงอยู่ในสภาพดี มัณฑะเลย์ เคยเป็นราชธานีของเขตพม่าบน แต่กลับมีอายุเก่าแก่ ไม่ถึง 150 ปี ดี และเป็นเพียงหนึ่งในไม่กี่เมือง ของพม่าที่ยังคง ใช้ชื่อเดิมเรื่อยมาโดยไม่มีการเปลี่ยนคำเรียกหาแต่อย่างใด ชื่อ มัณฑะเลย์ ฟังดูเก่าแก่โบราณพอๆ กับ แม่น้ำเอยาวดี (อิระวดี) ที่ทอดสาย ไหลเอื่อยผ่านตัวเมืองแห่งนี้ เสน่ห์ของมัณฑะเลย์ อยู่ที่การเป็นราชธานีแห่งสุดท้ายของ พระราชวงศ์พม่า หมู่สถูปเจดีย์ ที่มีให้เห็นอยู่ทั่ว ทุกหนทุกแห่ง และผู้คนที่มีชีวิตชีวา เปี่ยมไปด้วย น้ำใจไมตร มัณฑะเลย์ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของกรุงย่างกุ้ง ห่างขึ้นมา 620 กิโลเมตร และอยู่สูง เหนือระดับน้ำทะเล 80 เมตร ชาวพม่าถือว่า สัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมและพุทธศาสนา ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ของพม่า คือมัณฑะเลย์ใจกลางเมืองมี ตลาดเซโจ เป็นศูนย์กลาง การค้า ในเขตพม่าบนช่างฝีมือของที่นี่ ผลิตงานฝีมือตามวิธีโบราณ ด้วยทอง เงิน หินอ่อน กับสิ่ว เส้นด้าย และหูกทอผ้า สองฝั่งน้ำเอยาวดี มีท่าเรือคั่นอยู่เป็นระยะ เรือขนข้าวขึ้นล่องผ่านไปมา ไม่ขาดสาย มัณฑะเลย์ เคยเป็นราชธานีของเขตพม่าบน แต่กลับมีอายุเก่าแก่ไม่ถึง 150 ปีดี และเป็นเพียงหนึ่งในไม่กี่เมืองของพม่า ที่ยังคง ใช้ชื่อเดิมเรื่อยมาโดยไม่มีการเปลี่ยนคำเรียกแต่อย่างใด ชื่อมัณฑะเลย์ ฟังดูเก่าแก่โบราณพอๆ กับแม่น้ำเอยาวดี (อิระวดี) ที่ทอดสายไหลเอื่อยผ่านตัวเมืองแห่งนี้ เสน่ห์ของมัณฑะเลย์ อยู่ที่การเป็นราชธานีแห่งสุดท้ายของพระราชวงศ์พม่า
หมู่สถูป -เจดีย์ที่มีให้เห็นอยู่ทั่วทุกหนทุกแห่ง และผู้คนที่มีชีวิตชีวาเปี่ยมไปด้วยน้ำใจ ไมตรีมัณฑะเลย์ ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของกรุงย่างกุ้ง ห่างขึ้นมา 620 กิโลเมตร และอยู่สูงเหนือระดับน้ำทะเล 80 เมตร ชาวพม่าถือว่าสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมและพุทธศาสนา ทั้งในอดีตและปัจจุบันของพม่าคือมัณฑะเลย์ ใจกลางเมืองมี ตลาดเซโจ เป็นศูนย์กลางการค้าในเขตพม่าบน ช่างฝีมือของที่นี่ ผลิตงานฝีมือตามกรรมวิธีโบราณ ด้วยทอง เงิน หินอ่อน กับสิ่ว เส้นด้าย และหูกทอผ้า สองฝั่งน้ำเอยาวดี มีท่าเรือคั่นอยู่เป็นระยะ เรือขนข้าวขึ้นล่องผ่านไปมา ไม่ขาดสาย สถานที่ท่องเที่ยวในมัณฑะเลย์เจดีย์เจาตอจี (Kyauktawgyi Pagoda ) หรือเรียกว่า วัดหินใหญ่ ภายในมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่แกะสลักจากหินอ่อนก้อนเดียว เนินเขามัณฑะเลย (Mandalay Hill ) มีความสูง 236 เมตร ซึ่งทางขึ้นเป็นบันไดที่มีหลังคาทอดตัวขึ้นสู่ยอดเขาทั้งหมด 1,729 ขั้น และศาลเล็ก ๆ ตั้งอยู่เป็นระยะ ๆ มีอยู่หลายหลังที่เป็นผลงานของฤาษีอู่ขั้นตี่ ผู้ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งบนยอดเขามีวิหารหลังใหญ่แห่งแรกที่บรรจุพระบรมธาตุสามองค์ ของพระพุทธเจ้าไว้ ท่านจะสามารถเห็นทัศนียภาพของตัวเมืองมัณฑะเลย์ ยามอาทิตย์อัสดงได้อย่างชัดเจน สะพาน อูเป็ง ( U Bien Bridge ) เป็นสะพานที่สร้างขึ้นจากไม้สักที่นำมาจาก พระราชวังในเมืองอังวะ ที่สร้างขึ้นเมื่อ 200 กว่าปี ที่แล้วมีความยาว 1.2 ก.ม
วัดมหากันดายงค์ ( Maha Gandayon Monastery ) ซึ่งเป็นวัดใหญ่ที่สุดของพม่าที่เมืองอมรปุระ ซึ่งในช่วงเพลจะมีภิกษุสงฆ์นับร้อยรูปเดินเรียงแถวด้วยอาการสำรวมเพื่อรับอาหาร
พระพุทธมหามุนี (Mahamui Pagoda ) หรือรู้จักกันในนามพระล้างหน้า ที่มีความงดงามตามศิลปกรรมพม่า ที่มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปสำริดปิดทอง ที่อย คู่บ้านคู่เมืองมาช้านานที่สร้างขึ้นราว ปี พ.ศ 2327 เป็นสถานที่ที่สำคัญรองจากพระธาตุเชเวดากองในกรุงย่างกุ้ง พระราชวังมัณฑะเลย์ของพระเจ้ามินดงและกษัตริย์ สีป่อ พระเจ้าแผ่นดินองค์สุดท้าย พระราชวังมัณฑะเลย์สร้างขึ้นสมัยพระราชามินดง Mindon ราชาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ภายหลังจากมีสงครามระหว่างพม่ากับอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2395เวลานั้นเมืองหลวงอยู่ที่ อมรปุระ Amarapura ซึ่งเป็นเมืองที่ตั้งมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2325 พระราชามินดงต้องการที่จะหาที่ตั้งของเมืองหลวงที่จะสร้างใหม่หลังสงครามเพราะเมืองหลวงเก่าได้ซึ่งผ่านสิ่งร้ายๆมา ประกอบกับการยึดมั่นในหลักศูนย์กลางพุทธศาสนา และพระพุทธเจ้าได้ปรินิพพานครบ 2,400 ปี จึงมีรับสั่งให้สร้างเมืองหลวงใหม่ให้เป็น "เมืองสีทอง" Golden City ได้ปรึกษากับพระโหราจารย์ และได้ศุภฤกษ์ เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2400 โดยได้วางศิฤาฤกษ์ และต่อมาก็ตั้งผังเมือง โดยฝั่งทางตะวันตกนั้นได้นำชีวิตมนุษย์สังเวย โดยนำชาย หญิง และเด็กจำนวน 52 ชีวิต ฝังไว้ภายใต้เสาหลักเมือง เชื่อว่าวิญญาณของคนเหล่านี้จะปกป้องคุ้มครองเมือง การก่อสร้างเมืองเสร็จสมบูรณ์ในปี 2402 รวมระยะเวลาในการสร้าง 2 ปี เมืองสร้างเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส วัดได้ ประมาณ 2,030 เมตร ในแต่ละด้าน พระราชวังตั้งอยู่ตรงกลางจตุรัส มีกำแพงล้อมรอบโดยมีประตู 12 ด้าน ตามจักราศรีพระราชวังโดดเด่นด้วยหอสูง 78 เมตร ซึ่งตั้งเป็นศูนย์กลางของจักรวาลตามความเชื่อ เกี่ยวกับเรื่องไตรภูมิในพุทธศาสนา หลังคาสูงเจ็ดชั้นประดับด้วยทองคำเปลว โดยได้สร้างให้สมเกียรติ กับบัลลังค์สิงโตซึ่งใช้ในการประกอบพิธีกรรมสำคัญๆ เช่นพิธีKadaw เทิดพระเกียรติ ซึ่งจัดขึ้น 3 ครั้งต่อปี พระราชวังทั้งหมดทำจากไม้ซึ่งนำมาจากวังเดิมที่อมรปุระ พระราชวังตกแต่งด้วยไม้แกะสลักเป็นรูปตามเทพนิยาย รูปดอกไม้และสัญลักษณ์ทางโหราศาสตร์ มีหอนาฬิกาที่ทำจากไม้สักเพื่อเป็นที่สังเกตุการณ์ของทหารเพื่อระวังไฟไหม้ กษัตริย์มินดงได้สวรรค์คตในปี 2421 ต่อมาพระราชวังได้ถูกไฟไหม้วอดวาย ในปี 2488 รัฐบาลพม่าจึงได้บูรณะวังใหม
วัดชเวนันดอ (Shwenandaw) ซึ่งสร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง ลวดลายแกะสลักวิจิตร อ่อนช้อยทั้งหลังคา บานประตู และหน้าต่างอันเน้นรายละเอียดเกี่ยวกับพุทธประวัติ และทศชาติของพระพุทธเจ้าซึ่งความงดงามตามแบบศิลปะพม่าแท้ ๆ ภายในวัดมีพระพุทธรูปอันวิจิตรงดงามศิลปะพม่า
วัดอะตูมาชิ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ ๆ กัน วัดนี้เป็นวัดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในจำนวน 114 แห่งที่สร้างขึ้นใน รัชสมัยของพระเจ้ามินดง
ตลาดเซโจ เป็นศูนย์กลางการค้าในเขตพม่าบน ช่างฝีมือของที่นี่ ผลิตงานฝีมือตามกรรมวิธีโบราณ ด้วยทอง เงิน หินอ่อน กับสิ่ว เส้นด้าย และหูกทอผ้า ข้อมูลอื่นๆ
เนปีดอร์ เมืองหลวง ( Naypyidawบางครั้งสะกดเป็น Nay Pyi Taw) มีความหมายว่า "มหาราชธานี" เป็นเมืองศูนย์กลางการบริหารของสหภาพพม่า ตั้งอยู่ในหมู่บ้านจัตปแว (Kyatpyae) ทางทิศตะวันตกของตัวเมืองเปียนมานา (Pyanmana) ในเขตมัณฑะเลย์ สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาโดยรอบ
เมืองนี้เป็นเมืองเดียวของประเทศพม่าที่สามารถใช้ไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งในขณะที่เมืองหลวงเก่าย่างกุ้งจะไฟฟ้าดับอย่างน้อย 6 ชั่วโมง เมืองนี้อยู่ห่างย่างกุ้งไปทางเหนือประมาณ 320 กิโลเมตรไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ ซึ่งทางการพม่านั้นต้องการ เมืองนี้เริ่มมีการสร้างสิ่งต่าง ๆ บ้างแล้ว เช่น อพาร์ตเมนท์ ซึ่งคนพอมีเงินที่จะมาซื้ออยู่อาศัย เริ่มมีประชาชนอพยพมาอาศัยอยู่หลายหมื่นคนแต่เมืองหลวงแห่งนี้ ยังไม่มีโรงเรียน โรงพยาบาล เปรียบเสมือนเมืองทหาร ซึ่งกำลังก่อสร้างต่อไป
- คนพม่าไม่กินใบกะเพรา แต่จะกินเฉพาะใบแมงลัก ใบกะเพรานั้นพม่าถือเป็นอาหารสำหรับวัวเท่านั้น
- นักท่องเที่ยวที่มาเยือนพม่าส่วนใหญ่เดินทางโดยเครื่องบิน ลงที่สนามบินเม็งกะลาดง (Mingaladon Airport) ในย่างกุ้ง ซึ่งอยู่ห่างจากย่านธุรกิจประมาณ 19 กิโลเมตร
เที่ยวบินต่างประเทศที่มีจำนวนมากที่สุดคือเที่ยวบินระหว่างย่างกุ้ง-กรุงเทพฯ สายการบินของพม่า ได้แก่ เมียนมาร์แอร์เวยส์ (Myanmar Airways) นักท่องเที่ยวจากสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ยุโรป ส่วนใหญ่นิยมเดินทางเข้าพม่าโดยผ่านกรุงเทพฯ จะสะดวกที่สุด
ข้อแนะนำพิเศษ: ทางการพม่าได้กำหนดไว้ว่าห้ามชาวต่างชาติเดินทางไปยังบางเมืองหรือบางพื้นที่ หากนักท่องเที่ยวประสงค์ที่จะเดินทางไปเมืองที่ไม่ใช่แหล่งท่องเที่ยวของพม่า ควรเช็คข้อมูลให้ดีก่อน
- ภายในกรุงย่างกุ้ง มีทั้งรถประจำทางและรถแท็กซี่ไว้คอยบริการ อย่างไรก็ตามคนขับรถแท็กซี่ส่วนใหญ่พูดภาษาอังกฤษไม่ค่อยได้ และราคาจะขึ้นอยู่กับการต่อรองกับคนขับรถเนื่องจากรถแท็กซี่ไม่มีมิเตอร์
- ดอกไม้ประจำประเทศพม่า คือ ดอกประดู่
- ความเป็นอยู่ในพม่า มีความสะดวกเฉพาะอยู่ในกรุงย่างกุ้งและเมืองใหญ่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเท่านั้นในกรุงย่างกุ้งมีโรงแรมชั้นดีได้มาตรฐานหลายแห่ง สำหรับผู้ที่จะไปอยู่เพื่อทำงานหรือประกอบธุรกิจมีที่พักให้เลือกทั้งบ้านเช่า หรือ Serviced apartment การอยู่อพาร์ทเมนท์มีข้อดีในแง่ที่ผู้เช่าไม่ต้องกังวลปัญหาไฟฟ้าและน้ำประปา แต่ค่าเช่าค่อนข้างสูง ส่วนสินค้าอุปโภคบริโภคในกรุงย่างกุ้งหาซื้อได้ทั่วไป โดยมีสินค้าที่นำเข้าจากไทยหลายอย่างและในกรุงย่างกุ้งมีร้านอาหารไทยหลายร้าน
Office Address
15-122 Ban Lakmuang, Pakse,
Champasak, Lao PDR.
Вɠ2024 Somphonexay Tour All Rights Reserved.
Top